ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน



คิดและคาเรย์ กล่าวว่า ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ ความจำเป็นเร่งด่วนทันทีทันใด โดยยกตัวอย่างว่า นักออกแบบการเรียนการสอนจำนวน 12 คน ที่ทำงานเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์ปรมาณูในท้องถิ่นต้องมีปริญาทางเทคโนโลยีการเรียนการสอนและต้องรับผิดชอบเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอนทุกระดับ (DISK AND CARY 1985 : 8)

         การประกาศรับสมัครในตำแหน่งดังกล่าวนี้ ได้จัดทำขึ้นโดยบริษัทคู่สัญาหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ขึ้นที่เกาะทรีไมล์และเชอร์โนบิล (THREE MILE AND CHERMOBYL) : ซึ่งแสดงให้เห็นความกดดันเกี่ยวกับคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆสถานณการณ์ วิธีการหนึ่งพิสูจน์ข้อผูกผันที่มีต่อคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆสถานการณ์ คือ การผ่านการรับรองในเรื่องของการพัฒนา และการเฝ้าระวังติดตามการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอนเป็นการแก้ปัญหาคุณภาพ การเรียนการสอนในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลาย

           ในกรณีของเตาปฏิกรณ์ปรมาณู (NUCLEAR POWER PLANTS) มีความต้องการที่ควบคุมการเรียนการสอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งทางด้านป้องกันและพยายามที่จะป้องกันอุบัติเหตุสถาบันปฏิบัติการพลังงานนิวเคลียร์และการอุตสาหกรรมใน USA ได้ก่อตั้งองค์กรเพื่อจัดทำนโยบายของตนเองโดยมีมาตรฐานคำสั่งสำหรับโปรแกรมการฝึกอบรมมาตรฐานประกอบด้วยการใช้กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน สถาบันจะเป็นผู้ประเมินและรับรองการปฏิบัติทางปฏิกรณ์ปรมาณู และรวมถึงองค์ประกอบของการฝึกอบรมในเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย (VANDERGRIFT, 1983)

           งานของผู้ออกแบบการเรียนการสอน คือ นำจุดประสงค์และการเรียงลำดับของจุดประสงค์ไปสู่กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนเพื่อนที่จะให้เกิดความแน่ใจที่คุณภาพของการเรียนการสอน วิธีการในลักษณะนี้จะแล้วเสร็จได้ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงระบบ และการใช้วิจัย และความรู้ทางทฤษฎีจากการออกแบบการเรียนการสอน และจากสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ จิตวิทยา และศิลปะ (VANDERGRIFT, 1983) ดังข้อสันนิษฐานของกาเย่ บริกส์ และ เวเกอร์ (GANGE, BRIGGS, AND WAGER ) ที่มีต่อการออกแบบการเรียนการสอนว่า เป็นวิธีหนึ่งที่เชื่อว่ามีความเป็นไปได้และมีคุณค่าโดยมีการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องดังนี้คือ (1) มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล (2) เป็นแผนระยะสั้นและระยะยาวที่จะมีผลในการพัฒนามนุษย์ (3) ควรดำเดินการด้วยวิธีการเชิงระบบที่สามารถให้ผลอันใหญ่ต่อการพัฒนามนุษย์ และ (4) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร (GAGNE, BRIGGS, AND WAGER, 1992 : 4-5)


          ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า ความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน คือ การแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคล และมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร



การสอน และระบุวิธีการประเมินผล





บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน


        บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน (designer's role) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นำเสนอว่าต้องอาศัยเทคนิค หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค และขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทีมการออกแบบ เนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง ผู้ออกแบบจำเป็นต้องให้คำแนะนำในการออกแบบกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา (content expert) ถ้าเนื้อหานั้นไม่ต้องใช้เทคนิคที่สูงมากนักจนเกินไปผู้ออกแบบก็สามารถจัดทำได้อย่างอิสระมากขึ้นด้วยความช่วยเหลือของผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาผู้ออกแบบสามารถที่จะทำงานเป็นผู้ให้คำปรึกษาจากภายนอก และรับผิดชอบภาพระงานทั้งหมดเหมือนกับเป็นคนในสำนักงาน (in-house employers) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสำพันธ์ที่มีต่อผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาวิชา ดังตัวอย่างทั้งสาม (Seels and Glassgow, 1990 : 7-9)                      

1. ผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาและมีสมรรถภาพในการออกแบบการเรียนการสอนและเทคโนโลยี และเป็นผู้ที่รู้บทบาทของการออกแบบด้วยไม่จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือด้านความรู้ความชำนาญทางเนื้อหาวิชา

2. ผู้ออกแบบการเรียนการการสอน ที่ได้รับการร้องขอให้ทำงานในด้านเนื้อหาที่อาจจะมีความคุ้นเคย แต่ผู้ออกแบบยังคงรู้สึกมีความจำเป็นที่จะทำงานกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา

3. ผู้ออกแบบอาจจะได้รับการร้องขอให้พัฒนาหรือวิจัยในด้านเนื้อหาที่ไม่มีความคุ้นเคย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกและทำงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจำนวนมาก


ตารางที่ 3 เปรียบเทียบความสนใจและเป้าประสงค์ของผู้วิจัยและผู้ปฎิบัติ

แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป
               

บทบาทของผู้วิจัย
               

บทบาทผู้ปฎิบัติ

ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์
               

*ศึกษาวิธีการการระบุปัญหา 

*ศึกษาผลของคุณลักษณะของผู้เรียน

*ศึกษาเนื้อหา
               

*ประยุกต์ใช้วิธีการระบุปัญหา

*กำหนดคุณลักษณะของผู้เรียน

*ใช้การวิจัยในเนื้อหาตามสาขาวิชา

ขั้นที่ 2 การออกแบบ
               

*ศึกษาตัวแปลในการออกแบบข่าวสาร

*พัฒนากลวิธีการเรียนการสอน
               

*ให้ผู้ปฎิบัติเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอน

ขั้นที่ 3 การพัฒนา
               

*ศึกษากระบวนการของทีม
               

*ทำงานกับผู้ผลิตในการพัฒนาสคลิป

ขั้นที่ 4การนำไปใช้
               

*ศึกษาชาติวงศ์วรรณาของตัวแปลในสิ่งแวดล้อม

*การระบุตัวแปลของการนำไปใช้ให้ได้ผล
               

*ออกแบบและจัดการสิ่งแวดล้อมและตัวแปลในการเรียนการสอน

ขั้นที่ 5 ประเมินผล
               

*ศึกษาข้อถกเถียงที่นำไปสู่การประเมิน
               

*ประยุกต์ทฤษฎีการประเมินผล


ที่มา : Barbara Seels, and Zita Glasgow, Exercises in instructional Design (Columbus, Ohio) Merrill Publoshing Company, 1990), p. 8.


       สรุปได้ว่า บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอนมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา ผู้ออกแบบการเรียนการสอนมีบทบาทเป็นทั้งนักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอน (ID researcher) และนักปฎิบัติการออกแบบการเรียนการสอน (ID practitioner) โดยที่นักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอนสนใจศึกษาตัวแปลและพัฒนาทฤษฏีที่สัมพันธ์กับการเรียนการสอนสนใจประยุกต์งานวิจัย และทฤษฏีพัฒนาการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์มีบทบาทเป็นผู้รู้ทั่วๆไป (Generalist)


อ้างอิง

พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.



ประโยชน์ของการออกแบบและการจัดการเรียนรู้


-ผู้เรียนทุกคนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตามศักยภาพ


-ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน

-ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวอย่างแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง