วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นสำคัญ


  
วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นสำคัญ
  
    การจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ก็คือการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน
โดยครูผู้สอนหรือผู้จัดการเรียนรู้ พยายามหารูปแบบที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่จะให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนและเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด 


วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา ( Problem Soluing Method )

      จอห์น ดิวอี้ เป็นผู้คิดวิธีสอนแก้ปัญหานี้ขึ้น โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาและฝีกฝนวิธีการแก้ปัญหาต่างๆที่พบในชีวิตประจำ วันได้อย่างเป็นกระบวนการ สมเหตุสมผลและมีหลักเกณฑ์ อันเป็นการเตรียมเด็กหนุ่มสาวให้สามารถปรับปรุงตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและ ความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ โดยนำความรู้และประสบการณ์จากหลายๆสาขาวิชามาประกอบกันในการแก้ปัญหานั้นๆ

ความมุ่งหมาย
      ฝึกทักษะการสังเกต การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ ตีความและสรุปและทักษะในการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิธีที่มีเหตุผลซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้เรียน
ขั้นตอนการสอน

ขั้นที่1 กำหนดปัญหา เป็นขั้นที่ครู นักเรียน หรือครูกับนักเรียนกำหนดปัญหา ขันโดยวิธีการต่างๆ เช่น ถามนำเข้สู่บทเรียน เล่าเรื่องหรือประสบการณ์ แล้ตั้งปัญหา ใช้สถานการณ์ในชุมชนมาตั้งปัญหา จัดสถานการณในห้องเรียนกระตุ้นให้เกิดปัญหาเป็นต้น

ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์ปัญหา
เมื่อ ได้ปัญหาจากขั้นที่ 1 มาแล้ว ครูจะนำนักเรียนให้คิดพิจารณาปัญหา จากนั้นก็จะแบ่งกลุ่ม เพื่อรับผิดชอบในการแก้ปัญหาแต่ละข้อ การสอนขั้นนี้จะจบลงด้วยการเสนอแนะแหล่งความรู้ที่แต่ละกลุ่มควรไปค้นคว้าหา คำตอบเพื่อแก้ปัญหา

ขั้นที่ 3 ตั้งสมมุติฐาน
เป็นขั้นที่นักเรียนคาด เดาว่าปัญหานั้นๆมีสาเหตุมาจากอะไร หรือวิธีการแก้ปัญหานั้นน่าจะแก้ไขโดยวิธี
ใด หรือปัญหานั้นควรมีคำตอบว่าอย่างไร เป็นต้น

ขั้นที่ 4 เก็บรวบรวมข้อมูล
นัก เรียนแต่ละกลุ่มจะไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาด้วยการทำกิจกรรม ต่างตามที่ว่างแผนไว้ในขั้นที่ 2 เช่น อ่านหนังสือ สัมภาษณ์ผู้รู้ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ทำแผนภูมิ ทำแผนผัง ทำสมุดภาพ ชมภาพยนต์หรือวิดีทัศน์ ทดลองปฏิบัติ เป็นต้น ขณะทำกิจกรรมครูจะคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

ขั้นที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูล
เป็น ขั้นตอนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำข้อมูลที่ไปค้นคว้าหรือทดลองมาวิเคราะห์และส้ง เคราห์ หาคำตอบที่ต้องการ หรือพิสูจน์ว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้นั้น ถูกต้องหรือไม่ คำตอบที่ถูกคืออะไร

ขั้นที่ 6 สรุปผล
เป็นขั้นที่นักเรียนสรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาหาปัญหานี้
วิธี สอนแบบแก้ปัญหา นอกจากจะช่วยฝึกให้นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหาอย่างมีหลักเกณฑ์และรู้จักคิด อย่างมีเหตุผลแล้ว ยังช่วยปลูกฝังนักเรียนมีนิสัยรักการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใส่ตน และมีจิตสำนึกทางประชาธิปไตยอีกด้วย
ขั้นประเมินผล
ผู้สอนประเมินผลการทำงานของผู้เรียน แล้วจึงให้ผู้เรียนทราบข้อดีและข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไข

ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนแบบแก้ปัญหาข้อดี
1.ผู้เรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
2.ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆ
3.เป็นการฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และฝึกการรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

ข้อจำกัด
1.ผู้เรียนต้องดำเนินตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ถ้าผิดไปจะทำให้ได้ผลสรุปที่คลาดเคลื่อนหรือผิดจริงไป
2.ผู้เรียนต้องมีทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูลจึงจะสรุปได้ดี
3.ถ้าผู้สอนไม่มคุ้นเคยกับวิธีการสอนทางวิทยาศาสตร์อาจนำไปผิดทางได้
4.การกำหนดปัญหาถ้าเลือกปัญหาไม่ไดีจะทำให้การเรียนการสอนไม่ดีเท่าที่ควร



วิธีการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ  (Role Playing)

        การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจได้ด้วยตนเอง โดยเน้นกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ เป็นอีกวิธีสอนหนึ่งที่จะให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ให้ผู้เรียนได้แสดงออก ทั้งทางด้านความคิดและ
ท่าทางการแสดง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้เกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลินระวีวรรณ 
วุฒิประสิทธิ์ (2530  : 74) กล่าวถึงการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ ว่าเป็นการสอนที่กำหนดให้ผู้เรียนแสดงบทบทตามที่สมมติขึ้นเทียบเคียงกับสภาพ ที่เป็นจริง ตามลักษณะที่ผู้แสดงบทบาทเข้าใจ  เพื่อให้ผู้ดูเกิดความรู้  ความเข้าใจใน สิ่งที่เกิดขึ้น หลักสำคัญของการสอนแบบนี้คือ ผู้สอนจะสร้างปัญหาให้ผู้เรียนได้คิดและให้ผู้เรียนแก้ปัญหานั้นๆ ให้ได้ ด้วยตนเอง ด้วยการแสดงที่ทำให้ได้ด้วยตัวเอง ด้วยการแสดงที่ทำให้ผู้ดูเห็นจริง วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติจึงนับว่าเป็นวิธีการฝึกการแก้ปัญหาและการ ตัดสินใจวิธีหนึ่ง เพราะในสถานการณ์ที่สมมติขึ้นมาและบทบาทที่สมมติขึ้นมา ให้คล้ายคลึงกับสิ่งที่เป็นจริงนั้น  มักจะมีปัญหาและข้อขัดแย้งต่าง ๆ  แฝงมาด้วย  การที่ให้ผู้เรียนได้เลือกที่จะแสดงบทบาทต่าง ๆ  โดยไม่ต้องใดหรือเตรียมตัวมาก่อนนั้น  ผู้แสดงจะต้องแสดงไปตามธรรมชาติ โดยที่ไม่รู้ว่าผู้แสดงคนอื่นจะมีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างไรนั้น  นับว่าเป็น การช่วยฝึกให้ผู้แสดงได้เรียนรู้ที่จะปรับพฤติกรรมและหาทางแก้ปัญหาตัดสินใจ อย่างธรรมชาติ ในบทนี้กล่าวถึง ความหมายของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ  จุดมุ่งหมาย   องค์ ประกอบ  ลักษณะสำคัญของการสอน  ขั้นตอนการสอน บทบาทของผู้สอน  เทคนิคข้อเสนอแนะที่ใช้ในการสอน และข้อดีและข้อจำกัดของการสอน พร้อมด้วยการสรุปท้ายบท กิจกรรมและคำถามท้ายบทด้วย

ความหมาย  
  ทิศนา  แขม มณี (2550 : 358) กล่าวถึงวิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ  คือ  กระบวนการที่ผู้สอนใช้ ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  โดยการให้ผู้ เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง  และแสดงออกมา ตามความรู้สึกนึกคิดของตน  และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง  ทั้งทางด้านความ รู้  ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบว่าเป็นข้อมูลใน  การ อภิปราย  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ 
                    สุพิน  บุญชูวงศ์ (2544 : 67) กล่าวว่าวิธีสอนที่ใช้บทบาทที่สมมติขึ้นจากความเป็นจริงมาเป็นเครื่อง มือในการสอนโดยที่ครูสร้างสถานการณ์สมมติและบทบาทขึ้นมาให้นักเรียนได้ แสดงออกตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น  มีการนำการแสดงออกทั้งทางด้านความรู้ความ คิด  และพฤติกรรมของผู้แสดงมาใช้เป็นพื้นฐานในการให้ความรู้และสร้างความ เข้าใจให้แก่นักเรียนในเรื่องความรู้สึกและพฤติกรรม  และปัญหาต่าง ๆ  ได้อย่างเหมาะสม 
                    อาภรณ์  ใจเที่ยง (2550 : 160) อธิบายถึง  วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมติ  หมายถึง  วิธีสอนที่ผู้สอนสร้าง สถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นจากความเป็นจริง  มาให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามที่ ผู้เรียนคิดว่าควรจะเป็น  ผู้สอนจะใช้การแสดงออกทั้งทางด้านความรู้ความ คิด  และพฤติกรรมของผู้แสดงมาเป็นพื้นฐานในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ แก่ผู้เรียน  อันจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาสาระของบทเรียนอย่างลึก ซึ้ง  และรู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
                    บุญชม  ศรี สะอาด (2541 : 161) กล่าวถึงการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ (Role  Playing)  คือ  เทคนิคการสอนที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่ สมมติขึ้น  นั่นคือ แสดงบทบาทที่กำหนดให้ 
                    อินทิรา  บุณยาทร (2542 : 98)  อธิบาย การสอนด้วยบทบาทสมมติ  หมายถึง  วิธีสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาท สมมติขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น  โดยแสดงออก ทั้งทางด้านความรู้  ความคิด  และพฤติกรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ 
 สรุปได้ว่า วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ หมายถึง การสอนที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นมาที่ใกล้เคียงกับความเป็น จริง โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้แสดงบทบาทสมมตินั้นๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนได้กำหนดไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกทางด้านความรู้ ความคิด ที่คิดว่าตนควรจะเป็น

วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์  (Scientific Method)

ความหมาย วิธีสอนแบบแก้ปัญหา เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหา
โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Nehod) ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีขั้นตอน มีเหตุผล มีการรวบรวมข้อมูล มีการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล ดังนั้น จึงอาจเรียก วิธีสอนแบบนี้ว่า
1. ความหมายของการสอนแบบแก้ปัญหา
  1. มุ่งฝึกทักษะการสังเกต การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ตีความ และสรุป
  2. มุ่งฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิธีที่มีเหตุผล ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการที่ผู้เรียนจะนำวิธีการไปใช้แก็ปัญหาที่พบในชีวิต ประจำวันได้
  3. มุ่งฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุผล และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  4. มุ่งฝึกความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความคิดอิสระและการทำงานร่วมกลุ่มกับเพื่อน
  1. 1 ขั้นตอนการสอนของการสอนแบบแก้ปัญหา
    1. 2ขั้นเตรียม
1.1 ผู้สอนศึกษาแผนการสอน เนื้อหา และจุดประสงค์การสอนอย่างละเอียด
1.2 ผู้สอนวางแผนกำหนดกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียนปฏิบัติเป็นขั้นตอนตามลำดับ

2. ขั้นดำเนินการสอน

2.1ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนมองเห็นปัญหา และ
กำหนดของเขตของปัญหา ผู้สอนอาจใช้วิธีเล่าเรื่อง สร้างสถานการณ์จำลอง อภิปราย ศึกษากรณี เฉพาะราย ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นปัญหานั้น ถ้ามีหลายปัญหาอาจแยกเป็นข้อๆ ได้ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
1)นำทางให้ผู้เรียนเห็นปัญหา
2) จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหา
3)ช่วยตั้งจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาให้ทุกคนเข้าใจได้ตรงกัน

2.2 ขั้นตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นวางแนวทางที่จะหาคำตอบของปัญหา โดยให้ผู้เรียน
ตั้งสมมุติฐานว่า ปัญหานั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร หรือวิธีการแก้ปัญหานั้นน่าจะแก้ไขได้โดยวิธีใดบ้าง บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้ คือ
1) ช่วยผู้เรียนวางแผนจะแก้ปัญหาได้โดยวิธีใดบ้าง
2) แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มรับผิดชอบงานตามความสามารถและความสนใจ
2.3 ขั้นรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นที่ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เพื่อเป็นข้อ
มูลใช้ในการแก้ปัญหา โดยอาจค้นคว้าจากตำรา เอกสารต่างๆ จากการสัมภาษณ์ ซักถามผู้เชี่ยวชาญ  ฯลฯ แล้วจดบันทึกข้อมูลไว้ บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
1) แนะนำแหล่งความรู้เพื่อค้นคว้าหาข้อมูล
2) ติดต่อบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญล่วงหน้าเพื่อให้สัมภาษณ์แก่ผู้เรียน
2.4 ขั้นทดลองและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำข้อมูลมาพิจารณาโดยเริ่ม
จากการทดลองปฏิบัติดู และนำผลจากการทดลองวิเคราะห์ว่าวิธีใดใช้ได้ผลในการแก้ปัญหาอาจใชได้หลาย วิธีแตกต่างกันไป บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
1) สังเกตการทดลองหรือวิธีการแก้ปัญหาของผู้เรียน และให้คำแนะนำเมื่อจำเป็น
2)  อำนวยความสะดวกด้านวัสดุอุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่ผู้เรียนต้องการใช้ในการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูล

2.5 ขั้นประเมินและสรุปผล เป็นขั้นสุดท้ายของลำดับขั้นสอน เมื่อผู้เรียนได้ทำ
การทดลองและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 2.4  แล้ว ผู้เรียนย่อมสามารถประเมินผลวิธีการแก้ปัญหาและสรุปได้ว่า วิธีการใดได้ผลดีที่สุดในการแก้ปัญหานั้น บทบาทของผู้สอนในขั้นนี้คือ
1)  ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มรายงานวิธีการแก้ปัญหาตั้งแต่ขั้นที่ 1 จนถึงขั้น ที่ 5
 ขั้นประเมินผล
ผู้สอนประเมินผลการทำงานของผู้เรียน แล้วแจ้ให้ผู้เรียนทราบข้อดีและข้อบก
พร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป

3.  เทคนิคในการสอนแบบแก้ปัญหา

การนำวิธีสอนแบบแก้ปัญหาไปใช้ ผู้สอนควรคำนึงถึงข้อต่อไปนี้
  1. ปัญหาที่นำมาให้ผู้เรียนศึกษา ควรเป็นปัญหาที่น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยประสบการณ์ของผู้เรียน และเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน เช่น ปัญหาความไม่สะอาดของห้องเรียน ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการเรียน ปัญหาอุบัติเหตุ ฯลฯ      
  2. ถ้าผู้เรียนยังไม่เห็นปัญหา ผู้สอนควรใช้เทคนิคชี้นำให้ผู้เรียนคิดและมองเห็นปัญหา เช่น เทคนิค
  3. การถามคำถาม การเล่าเรื่อง การยกตัวอย่าง ฯลฯ
  4. ผู้สอนควรเตรียมเนื้อหา แหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการวิเคราหะห์ข้อมูลไว้ล่วงหน้า
  5. ในการสอนต้องให้เวลาและอิสระแก่ผู้เรียนในการศึกษาค้นคว้า การวิเคราะห์และการสรุปผลข้อมูล
  6. ผู้สอนควรควบคุมในการแก้ปัญหาของกลุ่มหรือรายบุคคลดำเนินไปด้วยดี และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีกำลังใจในการแก้ปัญหา
4.ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนแบบแก้ปัญหา
  1. ผู้เรียนได้ฝึกวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ฝึกการวิเคราะห์และการตัดสินใจ
  2. ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ
  3. เป็นการฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และฝึกความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
  4. ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากการฝึกแก้ปัญหา จะมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในชีวิตจริงทั้งในปัจจุบันและอนาคต
  5. ผู้เรียนต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ถ้าผิดไปจะทำให้ได้ผลสรุปที่คลาดเคลื่อนหรือผิดความจริงไป
  6. ผู้เรียนจะต้องมีทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูล จึงจะสรุปผลได้ดี
  7. ถ้าผู้สอนไม่คุ้นเคยกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ อาจนำไปผิดทางได้
  8. การกำหนดปัญหา ถ้าเลือกปัญหาไม่ดีจะทำให้การเรียนการสอนไม่ได้ผลเท่าที่ควร

    

วิธีการสอนตามขั้นที่ 4 อริยสัจ (Buddist's Method)

วิธีสอนแบบอริยสัจ 4  มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน ดังนี้
  1.  ขั้นกำหนดปัญหา  หรือขั้นทุกข์  ครูช่วยนักเรียนให้ได้ศึกษาพิจารณาดูปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง  ด้วยความรอบคอบ  และพยายามกำหนดขอบเขตของปัญหา  ซึ่งนักเรียนจะต้องคิดแก้ไขให้ได้
  2.  ขั้นตั้งสมมติฐาน  หรือขั้นสมุทัย 
 ก. ครูช่วยนักเรียนให้ได้พิจารณาตัวเองว่าสาเหตุของปัญหาที่ยกขึ้นมากล่าวในขั้นที่  1  นั้นมีอะไรบ้าง
 ข.  ครูช่วยนักเรียนให้เกิดความเข้าใจว่า  ในการแก้ปัญหาใด ๆ นั้นจะต้องกำจัดหรือดับที่ต้นตอหรือ    แก้ปัญหาเหล่านั้น
ค.  ครูช่วยนักเรียนให้คิดว่าในการแก้ที่สาเหตุนั้น  อาจจะกระทำอะไรได้บ้าง  คือให้กำหนดสิ่งที่กระทำเป็นข้อ ๆ ไป
   3.  ขั้นการทดลองและเก็บข้อมูล  หรือขั้นนิโรธ
   ก. ขั้นทำให้แจ้ง  ครูต้องสอนให้นักเรียนได้กระทำหรือทำการทดลองด้วยตนเองตามหัวข้อต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ในขั้นที่  2 ข้อ ค.
  ข.  เมื่อทดลองได้ผลประการใด  ต้องบันทึกผลการทดลองแต่ละอย่าง  หรือที่เรียกว่าข้อมูลไว้เพื่อเพื่อพิจารณาในขั้นต่อไป
    4.  ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล  และสรุปผล  หรือ ขั้นมรรค
ก.  จากการทดลองกระทำด้วยตนเองหลาย ๆ อย่างนั้น  ย่อมจะได้ผลออกมาให้เห็นชัด  ผลบางประการชี้ให้เห็นว่า  แก้ปัญหาได้บ้าง  แต่ไม่ค่อยชัดเจนนัก  ผลที่ถูกต้องชี้ให้เห็นว่าแก้ปัญหาได้แน่นอนแล้ว  และได้บรรลุจุดหมายแล้ว  ได้แนวทางหรือข้อปฏิบัติที่เราต้องการแล้ว  เหล่านี้หมายความว่า  จะต้องวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในขั้นที่  3  ข้อ ข. นั้น จนแจ่มแจ้งว่าทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาที่กำหนดในขั้นที่  1  ได้สำเร็จ
  ข.  จากการวิเคราะห์ดังกล่าวนั้น  จะทำให้เห็นว่าสิ่งใดแก้ปัญหาได้จริง  ต่อไปก็สรุปการกระทำที่ได้ผลนั้นไว้เป็นข้อ ๆ  หรือเป็นระบบ  หรือเป็นแนวทางปฏิบัติและให้ลงมือกระทำหรือปฏิบัติอย่างเต็มที่ตามแนวทางนั้นโดยทั่วกัน 
สรุปการสอนแบบอริยสัจ 4 ได้ดังนี้
1.    ขั้นกำหนดปัญหา……… (ขั้นทุกข์)
-  ศึกษาปัญหา
-  กำหนดขอบเขตของปัญหาที่จะแก้
2.    ขั้นตั้งสมมุติฐาน……….. (สมุทัย)
-  พิจารณาสาเหตุของปัญหา
-   จะต้องแก้ปัญหาที่สาเหตุ
-  พยายามทำอะไรหลาย ๆ อย่างเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงสาเหตุ
3.    ขั้นการทดลองและเก็บข้อมูล….(นิโรธ)
-    ทดลองใช้วิธีการต่าง ๆ
-    ทดลองได้ผลประการใดบันทึกข้อมูลไว้
4.    ขั้นสรุปข้อมูลและสรุปผล……. (มรรค)
-    วิเคราะห์เปรียบเทียบ
-    สรุปผลและแนวทางเพื่อปฏิบัติ

วิธีการสอนแบบทดลอง (The Laboratory Method)

หมายถึง วิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ศึกษา ค้นคว้าด้วยการทดลองเพื่อพิสูจน์หลักการ ทฤษฎีที่ผู้อื่นได้ค้นพบไว้ วิธีสอนแบบนี้มักใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ เช่นทดลองการเกิดเงา ทดลองการเพาะพืชด้วยเมล็ด ทดลองการสะท้อนของแสงทดลองว่าแสงเดินทางเป็นเส้นตรง ฯลฯ เป็นต้น

ความมุ่งหมาย

1.เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการทดลอง ค้นคว้าด้วยตนเอง

2.เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ และใช้ได้อย่างถูกต้อง

เป็นแนวทางในการปฏิบัติทดลองค้นคว้าคิดค้นสิ่งใหม่ต่อไป

3.เพื่อฝึกการปฏิบัติงานทดลองค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอย่างมีระบบขั้นตอนรอบคอบ

4.เพื่อฝึกการสังเกต วิเคราะห์ สรุปผล และรายงานตามความเป็นจริงที่ค้นพบ

ขั้นตอนการสอน

1.ขั้นเตรียมการทดลอง

1.1 กำหนดจุดประสงค์ ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตร คู่มือครู หรือแผนการสอน แล้วตั้งจุดประสงค์การสอนให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมแต่ละ ด้านอย่างไรบ้างจากการเรียนด้วยการลงมือทดลองปฏิบัติ

1.2 วางแผนการทดลอง ขั้นนี้ผู้สอนต้องลำดับขั้นตอนการสอนและเตรียมกำหนดกิจกรรมไว้ล่วงหน้าว่าจะ เข้าสู่บทเรียนอย่างไร ผู้เรียนจะต้องทดลองตามลำดับขั้นตอนอย่างไรบ้าง สรุปผลการทดลองและเสนอผลตอนใด อย่างไร หรือโดยวิธีใด เป็นต้น

1.3 จัดเตรียมวัสดุและเครื่องมือ แบบบันทึกผลการทดลอง และแบบประเมินผล ผู้สอนต้องเตรียมให้พร้อม ให้มีจำนวนมากพอกับจำนวนนักเรียนและอยู่ในสภาพที่ใช้ได้

1.4ตรวจ สอบความถูกต้องและประสิทธิภาพของเครื่องมือวัสดุที่ใช้ ผู้สอนควรได้ทดลองใช้เครื่องมือก่อนสอน เพื่อให้เห็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า และเพื่อประโยชน์ในการแนะนำ ตักเตือนผู้เรียนขณะทดลอง

1.5 เตรียมแบ่งกลุ่มผู้เรียน ผู้สอนต้องกำหนดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม ไม่ควรเป็นกลุ่มใหญ่มาก เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้วิธีทดลองอย่างทั่วถึง การแบ่งกลุ่มผู้เรียนนี้ต้องสอดคล้องกับจำนวนวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีอยู่

2.ขั้นทดลอง

2.1ขั้น นำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นเร้าความสนใจผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การทดลองขั้นตอน วิธีการทดลอง แนะนำการใช้เครื่อง วัสดุอุปกรณ์ ให้ผู้เรียนได้ทราบบทบาทของตนและให้ศึกษาคู่มือปฏิบัติการก่อนการทดลอง

2.2ขั้น ทดลอง ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการทดลองให้มีผู้สอนคอยดูแลแนะนำช่วยเหลือ ถ้าเป็นการทดลองที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ผู้สอนต้องคอยควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

3.ขั้นเสนอผลการทดลอง

ผู้เรียนนำเสนอผลการทดลอง และรายละเอียดประกอบ เช่น โครงการทดลอง การเตรียมการ วิธีทดลอง และผลที่ได้จากการทดลอง

4.ขั้นอภิปรายสรุปผล

ใน ขั้นนี้ผู้เรียนจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ตนได้รับ เช่นบางกลุ่มอาจได้ผลการทดลองที่คาดเคลื่อนก็จะได้ช่วยกันวิเคราะห์หาสาเหตุ ว่าผิดพลาดที่ขั้นตอนใด และมีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไร ในขั้นนี้ผู้สอนจะมีบทบาทในการให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมย้ำประเด็นสำคัญ และสรุปหลักการ ความคิดรวบยอดที่ได้จากการทดลอง

5.ขั้นประเมินผล

เมื่อ การอภิปรายผลสิ้นสุดลงผู้สอนควรได้ประเมินผลผู้เรียนในด้านต่าง ๆ และแจ้งให้ผู้เรียนทราบเพื่อปรับปรุงแก้ไขในการทดลองที่จะมีขึ้นในครั้งต่อ ไป เช่น ประเมินด้านการใช้เครื่องมือ ด้านความละเอียดรอบคอบในการทดลอง ด้านการจดบันทึกผลการทดลอง ด้านการรายงานผล ด้านการให้ความร่วมมือกับกลุ่ม เป็นต้น

ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนแบบทดลอง

ข้อดี

1.ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ขณะลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง

2.ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการในการใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล

3.เรียนมีทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ

4.ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพเช่นการสังเกต การฝึกปฏิบัติการค้นคว้าหาข้อมูล เป็นต้น

5.ผู้เรียนสามารถนำผลการทดลองไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาขั้นต่อไปและ ในชีวิตจริง

6.ผู้เรียนเกิดความสนุกและตื่นเต้นกับการทดลอง ทำให้บทเรียนน่าสนใจยิ่งขึ้น

ข้อจำกัด

1. ในการดำเนินการทดลอง ถ้าทำผิดขั้นตอนอาจเกิดอันตรายได้

2. อาจเสียเวลาในการเรียนการสอนมากเพื่อรอผลการทดลอง

3. การสอนแบบทดลองบางครั้งต้องใช้ทรัพยากรมากทำให้การลงทุนสูง ซึ่งอาจไม่ได้ผลคุ้มค่ากับการที่ลงทุนไป

4. ในบางครั้งถ้าการทดลองโดยกลุ่ม อาจมีผู้เรียนหรือสมาชิกของกลุ่มหลีกเลี่ยงการปฏิบัติงาน ทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร
 

วิธีการสอนแบบอภิปราย(Discussion Method)


ความหมาการสอนแบบบรรยาย
คือกระบวนการที่ผู้สอนมุ้งให้ผู้เรียนมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนหรือกลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน  โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาคำตอบแนวทางหรือแก้ปัญหาร่วมกัน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นหรือระดมความคิดเห็นร่วมกัน  และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างทั่วถึง
2.เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม การเป็นผู้นำ ผู้ตาม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
3.เพื่อฝึกการค้นคว้าหาความรู้ ข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเพื่ออภิปรายให้ผู้อื่นรับทราบ
องค์ประกอบ
1.เรื่องหัวข้อประเด็นปัญหาที่จะอภิปราย
2.ผู้อภิปรายและผู้ร่วมอภิปราย
3.กระบวนการอภิปราย
4.ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังการอภิปราย
ประเภทของการอภิปราย
การอภิปรายมีรูปแบบหรือประเภทการจัดการอภิปรายหลากหลายรูปแบบอาทิเช่น

  • การอภิปรายเป็นคณะ
  • การอภิปรายแบบฟอรั่ม
  • การอภิปรายแบบสัมมนา
  • การอภิปรายแบบระดมสมอง
  • การอภิปรายแบบโต๊ะกลม
  • การอภิปรายแบบโต้วาที
ขั้นตอนการเรียนรู้
1.ขั้นตอนการอภิปราย

  • กำหนดหัวข้อ วัตถุประสงค์ รูปแบบอภิปราย
  • ผู้สอนควรกำหนดบทบาทให้ผู้เรียน
  • สื่อการเรียน อาจจะเป็นเอกสารหรือวัสดุต่างๆที่จำเป็น
  • สถานที่ อาจจะเป็นห้องเรียนซึ่งผู้สอนควรจัดโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะสมกับรูปแบบการอภิปราย
       2.ขั้นบรรยาย

  • บอกหัวข้อหรือปัญหาและวัตถุประสงค์
  • บอกเงื่อนไขหลักเกณฑ์
  • ดำเนินการอภิปราย
3.ขั้นสรุป

  • สรุปผลการอภิปราย ผู้แทนกลุ่มสรุปผลการอภิปรายแล้วนำเสนอผลการอภิปรายต่อที่ประชุม
        4.ขั้นสรุปบทเรียน

  • ผู้สอนและผู้รีเยนร่วมกันสรุปสาระสำคัญและแนวคิดที่ได้จาการอภิปราย
      5.ขั้นประเมินผลการเรียน

  • ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้
ข้อดี
1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2.ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ
3.ผู้เรียนไม่เบื่อ เพราะมีการปฏิบัติตลอดเวลาเรียน
ข้อจำกัด
1.ใช้เวลามากพอสมควร ถ้าให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง
2.ผู้เรียนบางส่วนอาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
3.ผู้สอนอาจเกิดความขับข้องใจ ถ้าการอภิปรายครั้งนั้นไม่สามารถสรุปผลในรูปที่ผู้สอนปรารถนา

 

วิธีการสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching)

ป็นวิธีสอนที่ยึดหลักการย่อส่วนทั้งขนาดของชั้นเรียน ระยะเวลาที่สอนและชนิดของทักษะ วิธีสอนแบบจุลภาคใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที  ในการฝึกทักษะแต่ละชนิด เมื่อสอนเสร็จมีการวิเคราะห์และประเมินผลการสอนจากภาพและเสียงบันทึกไว้ใน Video Tape และนำผลไปปรับปรุงพัฒนาการสอน  การสอนแบบจุลภาคจึงเป็นการฝึกทักษะการสอนในสถานการณ์ย่อส่วนจากสถานการณ์จริงๆ เพื่อง่ายแก่การฝึกภายใต้การควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้ฝึกได้มีโอกาสตรวจสอบและปรังปรุงการสอนของตน    ลักษณะการสอนแบบจุลภาคที่สำคัญ มีดังนี้

1.เป็นสถานการณ์จริงในสถานการณ์จำลอง

2.เป็นการลดความซับซ้อนของการสอนตามชั้นเรียนปกติ ได้แก่ ลดขนาดของห้องเรีย ลดขอบเขตของเนื้อหาวิชา และลดเวลา
3.เป็นการฝึกทักษะเฉพาะอย่าง เช่น ทักษะการอภิปราย การแก้ปัญหา และการสาธิต ฯลฯ

4.ได้ทราบผลการประเมินประสิทธิภาพการสอนและนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนา

ขั้นตอนการสอนแบบจุลภาค

ขั้นที่ 1 เตรียมครูผู้สอน ได้แก่ การศึกษาทักษะการสอน

ขั้นที่ 2 ทดลองสอนและบันทึกเทปวีดีทัศน์

ขั้นที่ 3 เรียนรู้ผลการประเมินการสอน

ขั้นที่ 4 ปรับปรุงพัฒนาการสอนกับนักเรียนกลุ่มใหม่

วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)

ความหมาย
วิธีการสอนแบบโครงการ เป็นการสอนที่ให้นักเรียนเป้นหมู่ หรือรายบุคคลได้วางโครงการและดำเนินงานให้สำเร็วตามโครงการนั้น  นับว่าเป็นการสอนที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริง เด็กจะทำงานนี้ด้วยการตั้งปัญกา ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือทำจริง
ความมุ่งหมาย
1. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกที่จะรับผิดชอบในการทำงานต่างๆ
2.เพื่อให้นักเรียนฝึกแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิด
3. เพื่อฝึกดำเนินงานตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้
ขั้นตอนการสอน
1.ขั้นกำหนดความมุ่งหมทาย เป็นขั้นกำหนดความมุ่งหมายและลักษณะโครงการโดยตัวนักเรียน
2. ขั้นวางแผนหรือวางโครงการ เป็นขั้นตอนที่มีค่าต่อนักเรียนเป้นอย่างมาก
3.ขั้นดำเนินการ เป็นขั้นลงมือกระทำกิจกรรมหรือลงมือแกปัญหา
4. ขั้นประเมินผล หรืออาจเรียกว่า ขั้นสอบสวนพิจรณานักเรียน ทำการประเมินผลว่ากิจกรรมหรือโครงการที่ทำนั้นบรรลุผลตามความความมุ่งหมาย
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1.นักเรียนมีความสนใจเพราะได้ลงมือปฏิบัติจริงๆ
2. ส่งเสริมความิดสร้างสรรค์ และการทำงานอย่างมีแผน และให้รู้จักประเมินผลงานของตนเอง
3. ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตามธรรมชาติ และให้มีประสบการณ๕์ในหารทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.ฝึกให้นักเรียนรู้จักแก้ปัญหา เพื่อเตรียมที่จะเผชิญสภาพสังคมจริงๆ
ข้อจำกัด
1. เสียเวลามากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง
2. ประสบการณ์ในชีวิตจริตหลายอย่างไม่สามารถจะวางแผนและทำหิจกรรมได้
3. ถ้าครูไม่มีความรู้เพียงพอ  การสอนจะประสบความล้มเหลว
4.อาจทำให้นักเรียนได้รับความรู้ที่เป้นหลักวิชาไม่เพียงพอ


วิธีการสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)

วิธีสอนแบบหน่วยเป็นวิธีการสอนที่นำเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน โดยไม่กำหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า “หน่วย” นักเรียนอาจเรียนหลายๆวิชาพร้อมๆกันไปตามความต้องการและความสามารถของนักเรียน
ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบหน่วย
1. เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติการศึกษาค้นคว้าหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเอง
2. เพื่อส่งเสริมการทำงานที่เป็นประชาธิปไตย ได้แก่ นักเรียนร่วมกันปรึกษาหารือ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปฏิบัติงานและแก้ปัญหาร่วมกัน
ขั้นตอนของวิธีการสอนแบบหน่วย
1.ขั้นนำเข้าสู่หน่วย ขั้นตอนนี้ครูเป็นผู้เร้าความสนใจของนักเรียนด้วยการนำหนังสือที่น่าสนใจ
หรือสนทนาพูดคุยหรือเล่าเรื่องหรืออภิปรายหรือพาไปทัศนศึกษา หรือชมนิทรรศการ หรือชมภาพยนตร์ หรือชมวีดีทัศน์ ฯลฯ
2.ขั้นนักเรียนและครูวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม เริ่มด้วยการกำหนดความมุ่งหมายทั่วไป ความมุ่งหมายเฉพาะ ช่วยกันตั้งปัญหาและแบ่งหัวข้อปัญหา กำหนดกิจกรรมของแต่ละปัญหากำหนดสื่อการสอนที่จะนำไปใช้แก้ปัญหา แล้วจัดแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเพื่อทำกิจกรรม และรายงานผลการปฏิบัติงาน
3.ขั้นลงมือทำงาน เริ่มต้นด้วยการสำรวจและรวบรวมความรู้ต่างๆจากห้องสมุดพิพิธภัณฑ์
ได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร เอกสาร แบบเรียน ตำรา ร้านค้า ภาพยนตร์ ความสัมพันธ์กับวิชาต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลป ฯลฯ
1. ขั้นเสนอกิจกรรม ได้แก่ การเสนอกิจกรรมด้วยการรายงานผลการปฏิบัติงานโดยวาจาหรือ
รายงานผลเป็นข้อเขียน การอภิปราย การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการเสนอกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์แบบอื่นๆ
2. ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอน และจุดประสงค์ของหน่วย
โดยพิจารณาความรู้เชิงวิชาการ เจตคติ และความสนใจต่างๆ รวมทั้งคุณสมบัติส่วนตัว เช่น คุณสมบัติด้านการเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย การแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่ม และยอมรับฟังความคิดเห็นของกลุ่ม
ข้อดีของวิธีสอนแบบหน่วย
1. เป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมความถนัดตามธรรมชาติของนักเรียน เพราะการสอนแบบนี้มี
กิจกรรมหลายประเภทให้นักเรียนได้เลือกปฏิบัติทำตามที่ถนัดและสนใจ



วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)

ความหมาย

การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เป็นกระบวนการที่ผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองตามความต้องการ ความสนใจและความสามารถจากศูนย์การเรียนที่ผู้สอนได้จัดเตรียมเนื้อหาสาระ กิจกรรมและสื่อการสอนแบบประสม โดยปกติศูนย์การเรียนจะมีหลายศูนย์  แต่ละศูนย์จะมีเนื้อหาสาระและกิจกรรมเบ็ดเสร็จในตัวเอง ผู้เรียนจะหมุนเวียนกันเข้าศึกษาหาความรู้จากศูนย์ต่าง ๆ ที่จัดเตรียมไว้อย่างหลากหลายจนครบทุกศูนย์ ผู้เรียนจะต้องประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่โปรแกรมได้กำหนดเอาไว้ภายใต้การดูแลของผู้สอน
ซึ่งผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้จัดเตรียมศูนย์การเรียน ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ พร้อมทั้งประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนแบ่งออกเป็น
4 ขั้นตอนดังนี้

1.   ขั้นเตรียมการ
      เตรียมผู้สอน ก่อนจะทำการสอนทุกครั้งผู้สอนจะต้องศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ในคู่มือการสอน เริ่มตั้งแต่จุดประสงค์การเรียนรู้ การนำเข้าสู่บทเรียน การแบ่งกลุ่มผู้เรียน ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละศูนย์ /กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้ เนื้อหาวิชาที่จะสอน วิธีการใช้สื่อต่าง ๆ ประกอบการสอน วิธีการวัดประเมินผล จนถึงการสรุปบทเรียน

เตรียมวัสดุอุปกรณ์  ผู้สอนต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละศูนย์ / กลุ่ม /ฐานการเรียนรู้ว่ามีจำนวนเพียงพอและอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีหรือไม่ เช่น ใบงาน เอกสารเนื้อหาสาระ (Fact sheets ) บัตรกิจกรรม อุปกรณ์การฝึกทดลองประเภทต่าง ๆ แบบประเมินผล เป็นต้น
เตรียมสถานที่  สร้างสิ่งแวดล้อมที่สะดวกสบาย อบอุ่น สะอาด บรรยากาศดีเพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนรู้เป็นลำดับแรก หลังจากนั้นจัดเตรียมโต๊ะ เก้าอี้ เป็นลักษณะกลุ่มย่อยตามเนื้อหาที่จะสอน ให้เพียงพอกับจำนวนคนและกิจกรรมที่จะต้องทำ เช่น จัดโต๊ะเป็นกลุ่ม ๆ ละ 8 คน
แต่ละกลุ่มวางป้ายชื่อเรื่องที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ให้ชัดเจน

 2.    ขั้นสอน
สร้างกติกาการเรียนรู้ร่วมกัน ผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนและสร้างกติกาหรือข้อตกลงร่วมกัน เช่น การรักษาเวลาในการเรียนรู้แต่ละศูนย์ การทำงานเป็นทีม ความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม เป็นต้น
ทดสอบก่อนเรียน  พร้อมบอกผลการสอบเพื่อให้ทุกคนทราบความรู้พื้นฐานของตนเอง
นำเข้าสู่บทเรียน   ผู้สอนใช้กิจกรรมหรือวิธีการที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและเหมาะสมกับผู้เรียน ต่อจากนั้นอาจอธิบายเนื้อหาสาระและวิธีการที่จะเรียนพอสังเขป
แบ่งกลุ่มผู้เรียน    ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนตามจำนวนศูนย์ /กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้  และควรแบ่งแบบคละกันตามความสามารถ ความสนใจ เพศ วัย เพื่อให้แต่ละกลุ่มร่วมด้วยช่วยกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
ดำเนินกิจกรรม   ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ครบในทุกศูนย์ /กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้กำหนด
3.   ขั้นสรุปบทเรียน
หลังจากที่ผู้เรียนหมุนเวียนกันทำกิจกรรมครบศูนย์ / กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้แล้ว ผู้สอนตั้งคำถามให้ผู้เรียนสะท้อนความรู้สึกและบทเรียนที่ได้รับ  ผู้สอนทำหน้าที่สรุปบทเรียนทั้งหมดร่วมกับผู้เรียน
4.   ขั้นประเมินผล

 

วิธีการสอนแบบบทเรียนโมดูล (Module)

บทเรียนโมดูลหรือหน่วยการเรียน
จัดเป็นกลุ่มประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมาย
โมดูลอาจจะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น สไลด์ ภาพ การทดลอง หนังสือหรือเอกสาร
ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละสาขาวิชา

บทเรียนโมดูล
เป็นสื่อการเรียนชนิดหนึ่งที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียน
ได้เกิดความรู้ตามความต้องการ โดยที่บทเรียนนั้นจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้อย่างแน่นอน
มีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเลือกตามความถนัดและความสามารถของแต่ละคน
มีการประเมินผลก่อนและหลังเรียน มีการทดสอบย่อยในทุก ๆหน่วยของโมดูล
และการเรียนซ่อมเสริมด้วยกระบวนการเรียนการสอนจะเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญมากกว่าผู้สอน


คุณสมบัติที่สำคัญของบทเรียนโมดูล


1. โปรแกรมทั้งหมดถูกขยายเป็นส่วน ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน
    และสามารถมองเห็นโครงร่างทั้งหมดของโปรแกรม
2. ยึดตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดระบบการเรียนการสอน
3. มีจุดประสงค์ในการเรียนที่ชัดเจน
4. เน้นการเรียนด้วยตนเอง
5. ใช้วิธีการสอนแบบต่าง ๆ ไว้หลายอย่าง
6. เน้นการนำเอาวิธีระบบ (System Approach) เข้ามาใช้ในการสร้าง

องค์ประกอบของบทเรียนโมดูล
1. หลักการและเหตุผล (Prospectus)
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
3. การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-Assessment)
4. กิจกรรมการเรียน (Enabling Activities)
5. การประเมินผลหลังเรียน (Post-Assessment)

แบบแผนของบทเรียนโมดูล
ชื่อเรื่อง (A Title Page)
ขั้นตอนของกระบวนการเรียน (The Body of the Description)
มีลำดับขั้น ดังนี้

1. หลักการและเหตุผล
2. จุดประสงค์
3. ความรู้พื้นฐาน
4. การประเมินผลก่อนเรียน
5. กิจกรรมการเรียน
6. การประเมินผลหลังเรียน
7. การเรียนซ่อมเสริม
8. ภาคผนวก (Appendix)

ขั้นตอนในการสร้างบทเรียนโมดูล
1. การวางแผน
2. การสร้าง
3. การทดสอบต้นแบบ
4. ประเมินผลบทเรียน

ประโยชน์ของบทเรียนโมดูล

เป็นบทเรียนสำเร็จรูป
เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่มีระเบียบแบบแผนและรวมการสอนหลาย ๆ อย่าง
เอาไว้ด้วยกัน
ช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความสามารถและความก้าวหน้าของตนทุกระยะ
ช่วยลดภาระของครูในการสอนข้อเท็จจริงต่าง ๆ

 

วิธีการสอนแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)


ความหมาย

การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เป็นกระบวนการที่ผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองตามความต้องการ ความสนใจและความสามารถจากศูนย์การเรียนที่ผู้สอนได้จัดเตรียมเนื้อหาสาระ กิจกรรมและสื่อการสอนแบบประสม โดยปกติศูนย์การเรียนจะมีหลายศูนย์  แต่ละศูนย์จะมีเนื้อหาสาระและกิจกรรมเบ็ดเสร็จในตัวเอง ผู้เรียนจะหมุนเวียนกันเข้าศึกษาหาความรู้จากศูนย์ต่าง ๆ ที่จัดเตรียมไว้อย่างหลากหลายจนครบทุกศูนย์ ผู้เรียนจะต้องประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่โปรแกรมได้กำหนดเอาไว้ภายใต้การดูแลของผู้สอน
ซึ่งผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้จัดเตรียมศูนย์การเรียน ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ พร้อมทั้งประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนแบ่งออกเป็น
4 ขั้นตอนดังนี้
1.   ขั้นเตรียมการ
      เตรียมผู้สอน ก่อนจะทำการสอนทุกครั้งผู้สอนจะต้องศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ในคู่มือการสอน เริ่มตั้งแต่จุดประสงค์การเรียนรู้ การนำเข้าสู่บทเรียน การแบ่งกลุ่มผู้เรียน ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละศูนย์ /กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้ เนื้อหาวิชาที่จะสอน วิธีการใช้สื่อต่าง ๆ ประกอบการสอน วิธีการวัดประเมินผล จนถึงการสรุปบทเรียน
เตรียมวัสดุอุปกรณ์  ผู้สอนต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละศูนย์ / กลุ่ม /ฐานการเรียนรู้ว่ามีจำนวนเพียงพอและอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีหรือไม่ เช่น ใบงาน เอกสารเนื้อหาสาระ (Fact sheets ) บัตรกิจกรรม อุปกรณ์การฝึกทดลองประเภทต่าง ๆ แบบประเมินผล เป็นต้น
เตรียมสถานที่  สร้างสิ่งแวดล้อมที่สะดวกสบาย อบอุ่น สะอาด บรรยากาศดีเพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนรู้เป็นลำดับแรก หลังจากนั้นจัดเตรียมโต๊ะ เก้าอี้ เป็นลักษณะกลุ่มย่อยตามเนื้อหาที่จะสอน ให้เพียงพอกับจำนวนคนและกิจกรรมที่จะต้องทำ เช่น จัดโต๊ะเป็นกลุ่ม ๆ ละ 8 คน
แต่ละกลุ่มวางป้ายชื่อเรื่องที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ให้ชัดเจน
 2.    ขั้นสอน
สร้างกติกาการเรียนรู้ร่วมกัน ผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนและสร้างกติกาหรือข้อตกลงร่วมกัน เช่น การรักษาเวลาในการเรียนรู้แต่ละศูนย์ การทำงานเป็นทีม ความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม เป็นต้น
ทดสอบก่อนเรียน  พร้อมบอกผลการสอบเพื่อให้ทุกคนทราบความรู้พื้นฐานของตนเอง
นำเข้าสู่บทเรียน   ผู้สอนใช้กิจกรรมหรือวิธีการที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและเหมาะสมกับผู้เรียน ต่อจากนั้นอาจอธิบายเนื้อหาสาระและวิธีการที่จะเรียนพอสังเขป
แบ่งกลุ่มผู้เรียน    ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนตามจำนวนศูนย์ /กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้  และควรแบ่งแบบคละกันตามความสามารถ ความสนใจ เพศ วัย เพื่อให้แต่ละกลุ่มร่วมด้วยช่วยกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
ดำเนินกิจกรรม   ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ครบในทุกศูนย์ /กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้กำหนด
3.   ขั้นสรุปบทเรียน
หลังจากที่ผู้เรียนหมุนเวียนกันทำกิจกรรมครบศูนย์ / กลุ่ม / ฐานการเรียนรู้แล้ว ผู้สอนตั้งคำถามให้ผู้เรียนสะท้อนความรู้สึกและบทเรียนที่ได้รับ  ผู้สอนทำหน้าที่สรุปบทเรียนทั้งหมดร่วมกับผู้เรียน
4.   ขั้นประเมินผล
เมื่อสรุปบทเรียนแล้วให้ผู้เรียนทำการทดสอบหลังเรียน พร้อมทั้งแจ้งผลการทดสอบให้ทุกคนทราบพัฒนาการของตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดสอบก่อนเรียน

วิธีการสอนแบบซ่อมเสริม

      การสอนซ่อมเสริม หมายถึง การจัดการเรียนเพิ่มเติมแก่นักเรียนที่มีระดับสติปัญญาต่ำเรียนไม่ทันเพื่อน ขาดความคิดรวบยอดหรือจัดการเรียนเพิ่มแก่นักเรียนที่เก่งฉลาดเพื่อได้รับความรู้เพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่การซ่อมเสริมมักจัดให้เด็กที่มีผลการเรียนต่ำ เรียนในเวลาไม่รู้เรื่อง ไม่สนใจเรียน

 การสอนซ่อมป็นการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง  การสอนซ่อมและการวินิจฉัยเป็นของ คู่กัน กล่าวคือ การวินิจฉัยที่มีคุณค่าจะต้องติดตามด้วยการสอนซ่อม เช่นเดียวกับการสอนซ่อมที่มีคุณค่าจะต้องเป็นการสอนซ่อมที่ดำเนินการต่อจากการวินิจฉัย  การสอนซ่อมใดที่ดำเนินไปโดยปราศจากการวินิจฉัย กล่าวคือ สอนไปโดยไม่ทราบข้อบกพร่องของนักเรียนการสอนซ่อมนั้นย่อมไร้จุดหมายที่แน่นอน จึงไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนเท่าที่ควร

ความหมาย          


การสอนซ่อมเสริม (Remedial  Teaching) หมายถึง การสอนเด็กที่พัฒนาด้านการเรียนยังไม่เต็มความสามารถในการเรียนตามปกติ โดยการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆที่จะมีผลต่อการเรียน ขจัดการเรียนรู้ที่ไม่ถูกวิธี ตลอดจนเสริมทักษะในการเรียนรู้ใหม่ๆ การสอนซ่อมเสริมจะเน้นเด็กเป็นหลัก เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตน การที่ครูจะใช้วิธีสอนนักเรียนทุกคนให้เหมือนกันหมด ประหนึ่งว่านักเรียนทุกคนมีความรู้ ความสามารถระดับเดียวกัน ย่อมทำให้การสอนไม่บังเกิดผลดีทำให้เด็กบางคนไม่สามารถพัฒนาไปได้ดีเท่าที่ควร เมื่อถูกละเลยนานเข้าปัญหาต่างๆก็ทับทวีจนยากต่อการแก้ไข ด้วยเหตุนี้การสอนซ่อมเสริมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง



ขั้นตอนการสอนซ่อมเสริม

1. สำรวจข้อบกพร่องของนักเรียน
2. กำหนดจุดประสงค์ในการสอน
3. จัดเวลา และตารางสอน
4. จัดกลุ่มการสอน
5. จัดกิจกรรมการสอน
6. บันทึกผลการสอน
7. ตรวจสอบความก้าวหน้า


วิธีการสอนแบบหมวกแห่งความคิด (The Six Thinking Hats)


        Edward de Bon ได้พัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิด หมวกคือ จะช่วยให้ผู้เรียนได้พยายามคิด ทั้งคิดในกรอบ คิดทั้งจุดดี จุดด้อย จุดที่สนใจ ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้นๆ แทนที่จะยึดกับความคิดเพียงด้านเดียว หมวกแห่งความคิดมี6ใบ ดังนี้



White Hat หมวกสีขาว สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น คือ ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้นๆ ไม่ต้องการความคิดเห็น

Red Hat หมวกสีแดง สีแดงเป็นสีที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ

Black Hat หมวกสีดำ สีดำ เป็นสีที่แสดงถึงความโศกเศร้า และการปฏิเสธ เมื่อสวมหมวกสีนี้ ต้องพูดถึงจุดด้อย อุปสรรคโดยมีเหตุผลประกอบ ข้อที่ควรคำนึงถึง เช่น เราควรทำสิ่งนี้หรือไม่ ไม่ควรทำสิ่งนี้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทำให้การคิดมีความรอบคอบมากขึ้น

Yellow Hat หมวกสีเหลือง สีเหลือง คือสีของแสงแดด และความสว่างสดใส เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายถึง การคิดถึงจุดเด่น โอกาส สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลในเชิงบวก เป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
Green Hat หมวกสีเขียว สีเขียว เป็นสีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์

Blue Hat หมวกสีน้ำเงิน สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบ จะเป็นเหมือนท้องฟ้า หมวกนี้เกี่ยวกับการควบคุม การบริหารกระบวนการคิด หรือการจัดระเบียบการคิด



ขั้นตอนในการนำหลักการหมวกหกใบมาใช้แก้ปัญหาหรือตัดสินใจ



1.ให้เลือกนำปัญหาหรือหัวข้องานที่ต้องการตัดสินใจมาพิจารณา



2.ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือหัวข้อที่นำมาพิจารณา โดยอาจมีการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้อ่านและศึกษาก่อน (ถ้าข้อมูลพร้อม)



3.ให้ทุกท่านเข้าร่วมกันคิด โดยขอให้นั่งในตำแหน่งที่เห็นหน้ากันและสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นได้อย่างทั่วถึง จากนั้นให้เริ่มต้นด้วยการหยิบหมวกสีขาวมาสวมก่อน (เน้นเรื่องข้อมูล) ให้แสดงความคิดทุกท่านจนครบ

4.ในขั้นต่อไป เมื่อทุกท่านมีข้อมูลที่ควรรู้พอประมาณเท่าเทียมกันแล้ว ให้เลือกหมวกสีแดง (เน้นความจริงใจไม่บิดบัง) หมวกสีเหลือง (ข้อดีผลสำเร็จ) หมวกสีดำ (ข้อเสียวิเคราะห์ข้อบกพร่อง) มาใช้ โดยหากคิดไม่ออกให้ลองใช้วิธีคิดแบบเชื่อมโยงคือให้ลองพิจารณาดูว่าเรื่องที่กำลังคิดเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆ อะไรอีกบ้าง หรือสุ่มหยิบหัวข้อหรือคำศัพท์อะไรก็ได้จากข้อมูลในข้อ 3. ขึ้นมา แล้วจับโยงไปโยงมาก็อาจทำให้เห็นประเด็นอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ได้

5.ขั้นต่อไปให้หยิบหมวกสีเขียวขึ้นมาคิด คือให้คิดสร้างสรรค์หาทางเลือกใหม่ วิธีใหม่ๆ มีปัญหาหรือประเด็นใหม่เพิ่มเติมหรือไม่ 
อาจเป็นการลองคิดนอกกรอบดูบ้าง โดยให้แต่ละท่านแสดงความคิดจนครบ ถ้าไม่ครบก็ให้ทำตามแบบข้อ 4. คือลองคิดเชื่อมโยง สุ่มคำในข้อมูลหรือจากหนังสือ จาก internet ประเด็นคือให้คิดมากๆ คิดให้ได้มากๆ ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ไม่ขี้เกียจคิด ถ้าเหนื่อยหรือล้าก็เปลี่ยนอิริยาบถไปล้างหน้า ฟังเพลง พักผ่อน หรือทำอะไรก็ได้ให้เพลิดเพลิน แล้ววิธีการคิดแบบหมวกสีเขียวจะดีเอง เพราะหมวกสีเขียวต้องการความสดชื่นเหมือนต้นไม้ ต้องการการผ่อนคลาย ความสนุกสนาน และความเพลิดเพลิน

6.ขั้นตอนสุดท้าย คือให้หาข้อสรุปด้วยหมวกสีน้ำเงิน มองภาพรวมให้ครอบคลุม จับประเด็นสำคัญ หาข้อสรุปที่ลงตัว และการตัดสินใจที่เหมาะสม



ประโยชน์ของการคิดแบบหมวก 6 ใบ

พวงผกา โกมุติกานนท์ (2544, หนา 41) ได้สรุปประโยชน์ของการคิดแบบหมวก 6 ใบ ดังนี้



ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้ และกระตุ้นความสนใจได้ดี การใช้หมวกจริงหรือ ภาพหมวกและสีสนัต่าง ๆ มีส่วนช่วยอย่างมาก

ทำให้เหลือเวลาสำหรับความสร้างสรรค์อย่างแท้จริง

ยินยอมให้แสดงออกในที่ประชุมได้อย่างถูกต้องเปิดเผยซึ่งความรู้สึกหรือสัญชาติญาณ โดยไม่ต้องเกรงใจว่าจะไม่เหมาะสมแต่อย่างใด

ทำให้สามารถคิดแบบใดแบบหนึ่งได้อย่างเต็มที่โดยไม่สับสนปนเปกับความคิด หมวกสอนในเวลาเดียวกัน
ทำให้สามารถเปลื่ยนแบบความคิดได้ง่ายและตรงไปตรงมาโดยไม่ล่วงเกินใครด้วย การเปลื่ยนสีหมวก
ทำให้ผรวมระดมความคิดทุกคน สามารถใช้หมวกแตละสีได้ครบทุกสีแทนที่จะคิด แต่เพียงสีเดียวด้านเดียวตามปกติ
เป็นการแยกทิฐิออกไป แล้วปล่อยความคิดใหม่อิสรภาพทจะขบคิดได้อย่างเต็มที่
ทำให้สามารถจดลำดับการระดมความคิดให้เหมาะสมที่สุดกับหวข้อ
ป้องกันมิให้เกิดการโต้เถียงกันไปมาในที่ประชุมเพื่อฝ่ายต่าง ๆ จะได้สามารถร่วมกัน คิดอย่างสร้างสรรค์
ทำให้การประชุมสามารถผลิตผลงานออกมาดีขึ้น
ประโยชน์ของการคิดแบบหมวก 6 ใบ
พวงผกา โกมุติกานนท์ (2544, หนา 41) ได้สรุปประโยชน์ของการคิดแบบหมวก 6 ใบ ดังนี้

ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้ และกระตุ้นความสนใจได้ดี การใช้หมวกจริงหรือ ภาพหมวกและสีสนัต่าง ๆ มีส่วนช่วยอย่างมาก
ทำให้เหลือเวลาสำหรับความสร้างสรรค์อย่างแท้จริง
ยินยอมให้แสดงออกในที่ประชุมได้อย่างถูกต้องเปิดเผยซึ่งความรู้สึกหรือสัญชาติญาณ โดยไม่ต้องเกรงใจว่าจะไม่เหมาะสมแต่อย่างใด
ทำให้สามารถคิดแบบใดแบบหนึ่งได้อย่างเต็มที่โดยไม่สับสนปนเปกับความคิด หมวกสอนในเวลาเดียวกัน
ทำให้สามารถเปลื่ยนแบบความคิดได้ง่ายและตรงไปตรงมาโดยไม่ล่วงเกินใครด้วย การเปลื่ยนสีหมวก
ทำให้ผรวมระดมความคิดทุกคน สามารถใช้หมวกแตละสีได้ครบทุกสีแทนที่จะคิด แต่เพียงสีเดียวด้านเดียวตามปกติ
เป็นการแยกทิฐิออกไป แล้วปล่อยความคิดใหม่อิสรภาพทจะขบคิดได้อย่างเต็มที่
ทำให้สามารถจดลำดับการระดมความคิดให้เหมาะสมที่สุดกับหวข้อ
ป้องกันมิให้เกิดการโต้เถียงกันไปมาในที่ประชุมเพื่อฝ่ายต่าง ๆ จะได้สามารถร่วมกัน คิดอย่างสร้างสรรค์
ทำให้การประชุมสามารถผลิตผลงานออกมาดีขึ้น

วิธีการสอนแบบ 4 MAT

การสอนแบบ 4 MAT System หมายถึงกระบวนการเรียนการสอนที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ โดยจัดแบ่งช่วงเวลาการเรียนให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละเรื่อง ยึดหลักการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย ยืดหยุ่นและเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองผู้เรียนทุกแบบการเรียนให้มีโอกาสได้เรียนรู้ ได้ปฏิบัติกิจกรรมที่ตนชอบและได้ปรับตัวเรียนรู้ในแบบการเรียนอื่น ๆ ด้วย และมีการจัดประสบการณ์ที่ช่วยกระตุ้นการพัฒนาสมองซีกซ้ายและซีกขวาเพื่อให้สมองทั้งสองซีกมีพัฒนาการที่สมดุล ซึ่งมีการจัดกิจกรรมการเรียนตามขั้นตอนของ McCarthy ดังนี้
   1. การบูรณาการประสบการณ์ด้วยตนเอง (Why)

  ขั้นที่ 1 สร้างประสบการณ์ (สมองซีกขวา) ครูสร้างประสบการณ์ด้วยการกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจ ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงประสบการณ์เป็นของตนเอง
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ประสบการณ์ (สมองซีกซ้าย)  ครูให้ผู้เรียนสะท้อนความคิดจากประสบการณ์และตรวจสอบประสบการณ์

2.การพัฒนาความคิดรวบยอด (What)

ขั้นที่ 3 บรูณาการการสังเกตไปสู่ความคิดรวบยอด (สมองซีกขวา) ครูให้ข้อมูลข้อ

เท็จจริง และจัดกิจกรรมไปสู่ความคิดรวบยอด ผู้เรียนบูรณาการประสบการณ์และความรู้ไปสู่ความคิดรวบยอด
  ขั้นที่ 4 พัฒนาความคิดรวบยอด (สมองซีกซ้าย) ครูให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงตามทฤษฎีหรือความคิดราบยอด ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และไตร่ตรองประสบการณ์

3.การปฏิบัติและปรับแต่งเป็นแนวคิดของตนเอง (How)

ขั้นที่  5 ปฏิบัติและปรับแต่งเป็นแนวคิดของตนเอง (สมองซีกซ้าย) ผู้เรียนลอง

ปฏิบัติโดยผ่านประสาทสัมผัส เพื่อพัฒนาแนวคิดและทักษะ
ขั้นที่ 6 ปรับแต่งเป็นแนวคิดของตนเอง (สมองซีกขวา) ผู้เรียนปรับปรุงสิ่งที่ปฎิบัติด้วยวิธีการของตนเอง และบูรณาการเป็นองค์ความรู้ของตนเอง

4.การบรูณาการและการประยุกต์ประสบการณ์

ขั้นที่ 7 วิเคราะตห์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ (สมองซีกซ้าย) ผู้เรียนวิเคราะห์แล้ววางแผน

เพื่อประยุกต์หรือดัดแปลงสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

ขั้นที่ 8 แลกเปลี่ยนความรู้ของตนกับผู้อื่น (สมองซีกขวา) ผู้เรียนแลกเปลี่ยนสิ่งที่

ได้เรียนรู้มากับผู้อื่น
 5 .สื่อการเรียนการสอน
6.  การประเมินผล 

วิธีการสอนแบบ CIPPA

รูปแบบการสอนแบบซิปปา หมายถึง กระบวนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด และการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ สามารถสร้างความรู้ ค้นพบความรู้ได้ด้วยตนเอง นักเรียนมีบทบาทมากในกิจกรรมการเรียนการสอน และผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้
C (Construction) คือ ครูจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง
I (Interaction) คือ ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลและแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
P (Physical Participation) คือ จัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย
P (Process Learning) คือ จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการทำงานให้สำเร็จ
A (Application) คือ การจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
 
 ขั้นตอนการสอนตาม CIPPA mode l ๑.ขั้นการทบทวนความรู้เดิม เป็นการสนทนาซักถามถึงกิจกรรมที่เคยเรียนรู้ หรือพื้นความรู้ของนักเรียนในเรื่องที่จะดำเนินการสอน ๒.ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ หมายถึง ให้นักเรียนได้รู้จักแหล่งที่จะค้นหาความรู้ เช่น แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด สื่อเอกสาร มุมประสบการณ์ต่าง ๆ หรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เช่น ภูมิปัญญา สถานที่สำคัญในชุมชน เป็นต้น ๓.ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาทำความเข้าใจแล้วใช้กระบวนการคิดในการประมวลข้อมูลที่รับเข้ามาใหม่กับข้อมูลเดิมทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ หรือสิ่งใหม่ ๔.ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเมื่อได้เรียนรู้แล้ว นำองค์ความรู้นั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสะท้อนความคิดของตน ๕.ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนได้ง่าย เป็นกิจกรรมสรุปร่วมกัน โดยสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ ๖.ขั้นการแสดงผลงาน เป็นกิจกรรมเสนอสิ่งที่เรียนรู้ในรูปของการจัดกิจกรรม ๗.ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่ต้องการคำตอบต่อไป

วิธีการสอนแบบ Storyline

แนวคิดทฤษฎีที่ใช้
การเรียนรู้แบบ Story line เป็นการสอนวิธีหนึ่งที่ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตจริง ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรอง รวมทั้งกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าควรทำ ไม่ควรทำ ควรเชื่อ ไม่ควรเชื่อ อันจะนำไปสู่การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สิ่งดีสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการใช้หลักสูตรบูรณาการเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การมีส่วนร่วมของผู้เรียนเอง ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้คุณค่าและสร้างผลงานได้ผลการเรียนรู้มีความคงทน เป็นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิธีดังกล่าวเป็นผลการค้นพบของสตีฟ เบลล์ และแซลลี่ ฮาร์ดเนส (Steve Bell and Sally Hardness) นักการศึกษาชาวสก็อต ซึ่งสตีฟเบลล์ เรียกว่า การจัดการเรียนรู้ที่เป็นสตอรี่ไลน์ (Story line approach) และยังเรียกว่าวิธีสตอรี่ไลน์ (Story line method)
 วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว

ลักษณะเด่นของวิธีสอน 
1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
 2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง
3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉง เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านสติปัญญา (Head) ด้านอารมณ์ เจตคติ (Heart) และด้านทักษะปฏิบัติ (Hands)

บทบาทของครูและผู้เรียนเมื่อใช้วิธีสอนแบบสตอรีไลน์
บทบาทของครู
1.เป็นผู้เตรียมการ ในเรื่องต่างๆ ได้แก่
1)กรอบแนวคิดของเรื่องที่จะสอนโดยเขียนเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และกำหนดเรื่องเป็นตอนๆ (Episode) โดยแต่ละหัวข้อเรื่องในแต่ละตอนได้จากการบูรณาการ
2)เตรียมคำถามสำคัญหรือคำถามหลัก เพื่อใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์และลงมือปฏิบัติ
2.เป็นผู้อำนวยความสะดวกระหว่างการเรียนการสอน เช่น
1)เป็นผู้นำเสนอ (Presenter) เช่น นำเสนอประเด็น ปัญหา เหตุการณ์ในเรื่องราวที่จะสอน
2)เป็นผู้สังเกต (Observer) สังเกตขณะผู้เรียนตอบคำถาม ถามคำถาม ปฏิบัติกิจกรรม รวมทั้งสังเกตพฤติกรรมอื่นๆ ของผู้เรียน
3) เป็นผู้ให้กระตุ้น (Motivator) กระตุ้นความสนใจ ผู้เรียน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการเรียนอย่างแท้จริง
4) เป็นผู้ให้การเสริมแรง (Reinforcer) เพื่อให้เพิ่มความถี่ของพฤติกรรมการเรียน
5) เป็นผู้แนะนำ (Director)
6) เป็นผู้จัดบรรยากาศ (Atmosphere Organizor) ให้บรรยากาศการเรียนการสอนดีทั้งด้านกายภาพและด้านจิตสังคม เพื่อให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข
7)เป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Reflector) ให้การวิพากย์วิจารณ์ข้อดี ข้อบกพร่อง เพื่อให้พฤติกรรมคงอยู่ หรือปรับปรุง แก้ไข พฤติกรรมการเรียน
8)เป็นผู้ประเมิน (Evaluator) ควรมีการประเมินผลเป็นระยะๆ ประเมินกระบวนการ (Process) พฤติกรรมระหว่างหาความรู้ (Performance) และประเมินผลงาน (Product) ซึ่งอาจเป็นองค์ความรู้ และ/หรือ ผลงาน




 







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวอย่างแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง