รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย



 

รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย



รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์ 

ความหมาย
การจัดการเรียนรู้โดยการใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์  เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงการกระทำกับการคิดวิเคราะห์เข้าด้วยกัน โดยผู้สอนสร้างหรือนำสถานการณ์ด้านต่างๆ มาให้ ผู้เรียนได้เผชิญสถานการณ์แบบต่าง ๆ  ซึ่งวงอาจเป็นประสบการณ์ส่วนหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในชีวิตจริงของผู้เรียน เป็นการฝึกให้ผู้เรียนมีควรเชื่อมั่นในการนำความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร มาสรุปประเด็น เพื่อประเมินค่าว่าสิ่งใดถูกต้อง ดีงาม เกิดประโยชน์ ควรหรือไม่ควรแก่การปฏิบัติ และสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ปฏิบัติได้จริง เมื่อมีการเผชิญสถานการณ์และเจอปัญหาวิธีการจัดการเรียนรู้นี้เป็นการประยุกต์มาจากหลักพุทธธรรมและพุทธวิธี เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะกับการเวลา ลักษณะเนื้อหาสาระและวัยของผู้เรียน
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
ขั้นตอนการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์นั้น กรมวิชาการ (2530) และ สมุน อมรวิวัฒน์, 2530 อ้างถึงใน มยุรี วิมลโสภณกิตติ, 2538 เสนอไว้ดังนี้
1.   ขั้นสร้างศรัทธา
ขั้นนี้เป็นกิจกรรมสร้างความสนใจและความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น ผู้เรียนสนใจและเชื่อมั่นว่าบทเรียนนี้สำคัญต่อชีวิตของเขา เชื่อมั่นว่าจะช่วยพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ เชื่อมั่นในตัวผู้สอนและเชื่อมั่นว่าบทเรียนนี้จะช่วยให้เขามีประสบการณ์ที่มีคุณค่า
2.   ขั้นศึกษาสังคม    (ฝึกทักษะรวบรวมข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความรู้และหลักการ)
กิจกรรมนี้เป็นขั้นตอนที่เสนอสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันของผู้เรียนเพื่อนำไปสู่การฝึกนิสัยและทักษะในการแสวงหาความรู้ข่าวสาร ดังนั้นในการฝึกผู้เรียนให้สามารถเผชิญสถานการณ์เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้นั้น ผู้สอนจึงควรฝึกนิสัยฝึกทักษะในการแสวงหาความรู้เพื่อเป็นการเตรียมตัวในขั้นแรกของการศึกษา
3.   ขั้นระดมเผชิญสถานการณ์   (ฝึกทักษะการประเมินค่า)
การฝึกฝนและการเรียนรู้ประสบการณ์ขั้นนี้เป็นขั้นตอนของการผจญปัญหา และสถานการณ์ เป็นการนำข่าวสารความรู้ที่ได้มาจัดสรุปประเด็นของข่าวสารไว้อย่างเป็นระเบียบ แล้วประเมินค่าว่าประเด็นไหนถูกต้อง ดีงาม เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง ประเด็นใดบกพร่อง ผิดพลาด ชั่วร้าย ไม่เหมาะสม ไม่ถูกไม่ควร ทำไปจะเกิดผลร้าย หรือเป็นผลดีชั่วครู่ ชั่วยาม เคลือบแฝงความชั่วร้ายเอาไว้
4.  วิจารณ์ความคิด   (ฝึกทักษะการเลือกและการตัดสินใจ)
เมื่อผู้เรียนได้ฝึกการประเมินค่าข้อมูลต่างๆ ไว้หลายๆ ทางแล้วนั้น ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่เร้าให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์วิจารณ์ทางเลือกต่าง ๆ  ก่อนตัดสินใจซึ่งมีความสำคัญมาก ผู้เรียนจะต้องรู้
5.  ปรับพฤติกรรม  (ฝึกการปฏิบัติ)
การปฏิบัติการเรียนรู้ประสบการณ์เรียนรู้ขั้นนี้ เป็นขั้นตอนของการเผด็จการ คือ การลงมือแก้ปัญหา และเผชิญสถานการณ์จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี
6. สรุปและการประเมินผล
ขั้นตอนี้เป็นการนำสาระและกิจกรรมของบทเรียนนับแต่เริ่มต้น มาสรุปย้ำ ซ้ำ ทวนตรวจสอบ โดยวิธีที่ผู้เรียนประเมินตนเอง เพื่อนผู้เรียนประเมินซึ่งกันและกัน การประเมินผู้เรียนและวัดผลการเรียนการสอน


รูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ


รูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ

          ขั้นนำ-ขั้นเสริมการสร้างศรัทธา          1. จัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
              ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น การจัดสภาพบรรยากาศในชั้นเรียนให้มีลักษณะดังนี้
               1.1 ต้องมีความสงบ
               1.2 พยายามจัดให้นักเรียนได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ มีการใช้แหล่งวิทยาการในชุมชน ให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง
               1.3 จัดสภาพในชั้นเรียนให้มีความแปลกใหม่ไม่จำเจ เช่น จัดการเรียนเป็นกลุ่มบ้างมีการเปลี่ยนกลุ่ม เปลี่ยนที่นั่ง
               1.4 จัดบริเวณห้องเรียนและโรงเรียนให้สะอาดมีระเบียบและเรียบง่ายอยู่เสมอ
               1.5 สร้างบรรยากาศ สร้างความสนใจ ตั้งใจเรียนเป็นพื้นฐานให้นักเรียนเป็นบรรยากาศ ที่ชวนให้สบายใจ ไม่มีการข่มขู่บังคับ ห้ามพูด ห้ามแสดงความคิดเห็น ห้ามลุกจากที่นั่งแต่เน้นการสำรวมกาย วาจา ใจ ฝึกแผ่เมตตา ฝึกสมาธิอย่างง่าย ฝึกให้นักเรียนมีสติอยู่เสมอ ให้รู้ตัวว่ากำลังทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร
          2. สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับศิษย์
             ครูต้องปฏิบัติตัวเป็นกัลยาณมิตรของศิษย์ คือ ต้องมีบุคลิกภาพสำรวมน่าเชื่อถือ ศรัทธา สง่า สะอาด แจ่มใส และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ต้องมีความรู้ มีคุณธรรม มีความเมตตาเอื้ออาทรทำให้ศิษย์มีความรู้สึกสบายใจที่จะเข้ามาหาและปรึกษา ครูสั่งสอนศิษย์ด้วยความรักและเป็นที่พึ่งของศิษย์ได้อย่างแท้จริง ความเป็นกัลยาณมิตรของครู จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ศิษย์เกิดฉันทะและวิริยะในการฝึกหัดอบรมตนเอง

         3. ครูนำเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ
              ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ใช้วิธีตรวจสอบความคิดและความสามารถของนักเรียนก่อนสอนแล้วแสดงผลการตรวจสอบให้นักเรียนได้รู้อย่างรวดเร็วที่สุดเพื่อเป็นการเสริมแรงเร้าให้เกิดความมานะ พากเพียร ฝึกหัดอบรมตนเอง ใช้สื่อการสอนและกิจกรรมที่น่าสนใจ

          ขั้นสอน

          4. ครูเสนอปัญหาที่เป็นสาระสำคัญของบทเรียน
              ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ใช้วิธีนำเสนอที่หลากหลายและท้าทายความคิด

          5. ครูแนะแหล่งข้อมูลความรู้
              ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น เตรียมรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งความรู้อย่างกว้างขวาง

          6. ให้นักเรียนฝึกการรวบรวมข้อมูล
              ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะทางสังคม

          7. ครูจัดกิจกรรมเร้าให้นักเรียนเกิดความคิดวิธีต่าง ๆ

          8. ให้นักเรียนฝึกการสรุปประเด็นของข้อมูล เพื่อหาทางเลือกวิธีแก้ปัญหา
              ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ให้นักเรียนฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ช่วยกันเปรียบเทียบ ประเมินทางเลือก

          9. ให้นักเรียนเลือกและตัดสินใจ
              ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น การลงมติร่วมกันภายในกลุ่มฝึกความเป็นประชาธิปไตยบนพื้นฐานของการคิดอย่างมีเหตุผลปราศจากอคติ

          10. ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ผลการเลือก
              ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ฝึกปฏิบัติงานตามแผนและการบันทึกผลข้อมูลอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นการทำงานนอกและในเวลาเรียนโดยครูคอยสังเกตและให้คำแนะนำ

          ขั้นสรุป          11. ครูและนักเรียนร่วมกันสังเกตวิธีปฏิบัติ ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติ
               ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ใช้การอภิปราย ระดมสมองและการให้ผลย้อนกลับจากครู

          12. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสอบถามข้อสงสัย
               ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ให้โอกาสตรวจสอบคำตอบโดยการคิดย้อนกลับไกลับมา

          13. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน
               ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น ใช้การอภิปรายกลุ่มช่วยกันสรุปสาระสำคัญ

          14. ครูวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
               ตัวอย่างเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ในขั้นตอนนี้ เช่น การวัดผลด้วยการประเมินความคิดรวบยอดของนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน 

 

การสอนเพื่อพัฒนาการคิด

การสอนเพื่อพัฒนาการคิด
เนื่องจากการพัฒนาการคิดเป็นสิ่งสำ คัญ จึงได้มีการค้นหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความสามารถดังกล่าว ในปี ค.ศ. ๑๙๘๔ ได้มีการประชุมของนักการศึกษาจากประเทศต่าง ๆ ที่ The Wingspread Conference Center in Racine, Wisconsin State เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาทักษะการคิดของเด็ก พบว่า แนวทางที่นักการศึกษาใช้ในการดำ เนินการวิจัยและทดลองเพื่อพัฒนาการคิดนั้น สามารถสรุปได้ ๓ แนว คือ(เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์, ๒๕๓๐)
๑. การสอนเพื่อให้คิด (Teaching for Thinking) เป็นการสอนเนื้อหาวิชาการ โดยมีการเสริมหรือปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการคิดของเด็ก
๒. การสอนการคิด (Teaching of Thinking) เป็นการสอนที่เน้นเกี่ยวกับกระบวนการทางสมอง ที่นำ มาใช้ในการคิดโดยเฉพาะ เป็นการฝึกทักษะการคิด ลักษณะของงานที่นำ มาใช้สอนจะไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาการที่เรียนในโรงเรียน แนวทางการสอนจะแตกต่างกันออกไปตามทฤษฎี และความเชื่อพื้นฐานของแต่ละคนที่นำ มาพัฒนาเป็นโปรแกรมการสอน
๓. การสอนเกี่ยวกับการคิด (Teaching about Thinking) เป็นการสอนที่เน้นการใช้ทักษะการคิดเป็นเนื้อหาสาระของการสอน โดยการช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจกระบวนการคิดของตนเองเพื่อให้เกิดทักษะการคิดที่เรียกว่า “metacognition” คือ รู้ว่าตนเองรู้อะไร ต้องการรู้อะไร และยังไม่รู้อะไร ตลอดจนสามารถควบคุมและตรวจสอบการคิดของตนเองได้สำ หรับโปรแกรมการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดที่จัดสอนในโรงเรียน เท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันสามารถจำ แนกออกเป็น ๒ ลักษณะใหญ่ ๆ คือโปรแกรมที่มีลักษณะเฉพาะ (Specific Program) ซึ่งเป็นโปรแกรมพิเศษนอกเหนือจากการเรียนปกติ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างการคิดวิจารณญาณโดยเฉพาะ(Institutional Programs to Foster Critical Thinking) กับโปรแกรมที่มีลักษณะทั่วไป(General Program) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้เนื้อหาวิชาในหลักสูตรปกติเป็นสื่อในการพัฒนาทักษะการคิด เป็นการสอนทักษะการคิดในฐานะที่เป็นตัวเสริมวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่มีอยู่ โดยเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาวิชาเนื่องจากความพร้อมและสถานการณ์ในการจัดการเรียนการสอนในประเทศไทยมีลักษณะที่หลากหลาย ในที่นี้ จึงจะขอนำ เสนอแนวทางในการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดหลาย ๆ แนว เพื่อเป็นตัวเลือกให้แก่ครูและดรงเรียนในการนำ ไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
แนวที่ ๑ การสอนเพื่อพัฒนาการคิดโดยตรงโดยใช้โปรแกรม สื่อสำ เร็จรูป หรือบทเรียน/กิจกรรมสำ เร็จรูปสำ หรับครูและโรงเรียนที่สนใจจะพัฒนาความสามารถทางการคิดของนักเรียนเป็นพิเศษและสามารถที่จะจัดหาเวลาและบุคลากรรวมทั้งงบประมาณที่จะดำ เนินการได้สามารถพัฒนาการคิดของเด็กได้โดยใช้โปรแกรมและสื่อสำ เร็จรูป รวมทั้งบทเรียน/กิจกรรมสำ เร็จรูปที่มีผู้ได้พัฒนาและจัดทำ ไว้ให้แล้ว อาทิเช่น
๑. The Productive Thinking Program (Covington, Crutchfield Davies & Olton,๑๙๗๔) ประกอบด้วยบทเรียน ๑๕ บท มีเป้าหมายสอนทักษะการแก้ปัญหาให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย
๒. The Ideal Problem Solver (Bransford & Stein, ๑๙๘๔) เป็นโปรแกรมเน้นการแก้ปัญหาประกอบด้วยขั้นตอนการแก้ปัญหา ๕ ขั้นตอนคือ
๑) การระบุปัญหา (Identifying Problems)
๒) การนิยาม (Defining Problems)
๓) การเสนอทางเลือก (Explaning Alternatives)’
๔) การวางแผนดำ เนินการ (Acting on a plan)
๕) การศึกษาผล (Looking at the Effects)
๓. Feuerstein’s Instrumental Enrichment (FIE) (Feuersteinetal; ๑๙๘๐) เรียกโปรแกรมนี้ว่า Mediated Learning Experiences (MLES) เป็นโปรแกรมที่มีกิจกรรมสอนให้ผู้เรียน คือ ครู พ่อแม่ และคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้ผู้เรียนฝึกคิดความหมายและรวบรวมเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ของตนเอง กิจกรรมพื้นฐานของ MLESคือการฝึกให้ผู้เรียนมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยทำ กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อนำ ไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
๔. The CoRT Thinking Materials – CoRT (Cognitive Research Trust) ซึ่งเป็นโปรแกรม ๒ ปี เพื่อพัฒนาทักษะการคิด (Do Bono, ๑๙๗๓) บทเรียนของโปรแกรมนี้ประกอบด้วยการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นบทเรียนที่ใช้ได้ตั้งแต่นักเรียนระดับประถมศึกษาขึ้นไป เป็นโปรแกรมที่ประกอบด้วย หน่วยใหญ่ ๆ รวม ๖หน่วย
แนวที่ ๒ การสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบ หรือกระบวนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดการสอนเพื่อพัฒนาการคิดในลักษณะนี้เป็นการสอนที่มุ่งสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร แต่เพื่อให้การสอนนั้นเป็นการช่วยพัฒนาความสามารถทางการคิดของผู้เรียนไปในตัว ครูสามารถนำ รูปแบบการสอนต่าง ๆ ที่เน้นกระบวนการคิด ซึ่งได้มีผู้ค้นคิด พัฒนา และทดสอบ พิสูจน์แล้วมาใช้เป็นกระบวนการสอน ซึ่งจะช่วยให้ครูสามารถพัฒนาผู้เรียนได้ทั้งทางด้านเนื้อหาสาระ และการคิดไปพร้อม ๆ กัน รูปแบบหรือกระบวนการสอนที่เน้น/ส่งเสริมกระบวนการคิดมีหลากหลาย ทั้งจากต่างประเทศและจากนักการศึกษาไทย อาทิ เช่น
รูปแบบ/กระบวนการสอนที่เน้น/ส่งเสริมกระบวนการคิดจากต่างประเทศ
๑. รูปแบบการสอนแบบอุปนัยของจอยส์และเวลล์ (Inductive Thinking)
๒. รูปแบบการสอนแบบซักค้านของจอยส์และเวลล์ (Jurisprudential Inquiry Model)
๓. รูปแบบการสอนแบบสืบสวนสอบสวนของจอยส์และเวลล์ (Inquiry Model)
๔. รูปแบบการสอนแบบให้มโนทัศน์ล่วงหน้าของจอยส์ (Advance Organizer)
๕. รูปแบบการสอนมโนทัศน์ของจอยส์และเวล์ (Concept Attainment)
๖. รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของวิลเลียมส์
๗. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของ Center for Critical Thinking, Sonoma State University
๘. รูปแบบการสอนของกานเย (Gagne)
๙. รูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเอนนิส (Ennis)
๑๐. รูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตของทอแรนซ์ (Torrance)
๑๑. กระบวนการคิดวิจารณญาณของเดรสเซล และเมย์ฮิว (Dressel and Mayhew)
๑๒. การพัฒนากระบวนการคิดของเดอโบโน (Edward De Bono) ฯลฯ
รูปแบบ/กระบวนการสอนของไทยที่เน้น/ส่งเสริมกระบวนการคิด
๑๓. รูปแบบการสอนตามขั้นทั้ง ๔ ของอริยสัจ โดย สาโรช บัวศรี
๑๔. ระบบการเรียนการสอนแบบสืบสวนสอบสวนตามแนวพุทธศาสตร์ โดยวีระยุทธ วิเชียรโชติ
๑๕. รูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ โดย สุมน อมรวิวัฒน์
๑๖. รูปแบบการสอนความคิด ค่านิยม จริยธรรม และทักษะ โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์
๑๗. ทักษะกระบวนการ โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
๑๘. กระบวนการวิทยาศาสตร์ โดย สสวท.
๑๙. กระบวนการคิดเป็น โดย โกวิท วรพิพัฒน์
๒๐. กระบวนการคิดเป็นเพื่อการดำ รงชีวิตในสังคมไทยโดย หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
๒๑. กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย เพ็ญพิศุทธิ์ เนคมานุรักษ์
๒๒. กระบวนการเกิดความสำ นึกและการเปลี่ยนแปลงความสำ นึก โดย เมธี ปิลันธนานนท์
๒๓. รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดย ไพจิตร สะดวกการ
๒๔. สอนให้คิด คิดให้สอน โดย ชาตรี สำ ราญฯลฯ
แนวที่ ๓ การสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆ โดยพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดลักษณะการคิด และกระบวนการคิด ในกิจกรรมการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาต่าง ๆแนวทางที่ ๓ นี้ น่าจะเป็นแนวทางที่ครูสามารถทำ ได้มากที่สุดและสะดวกที่สุดเนื่องจากครูสอนเนื้อหาสาระอยู่แล้ว และมีกิจกรรมการสอนอยู่แล้ว เมื่อครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดตามกรอบความคิดที่ได้เสนอมาข้างต้น ครูจะสามารถนำ ความเข้าใจนั้นมาใช้ในการปรับกิจกรรมการสอนที่มีอยู่แล้วให้มีลักษณะที่ให้โอกาสผู้เรียนได้พัฒนา ทักษะการคิด ลักษณะการคิด และกระบวนการคิดที่หลากหลาย


กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ

          ซิปปา (CIPPA) เป็นการหลักซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” นี้สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้และได้มีการนำไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอนดังนี้

          ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม

                   ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย

          ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่

                   ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้

          ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความเดิม

                   ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม

          ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม

                   ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนเองให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน

          ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้

                   ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย

          ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/หรือการแสดงผลงาน

                    หากข้อความรู้ที่ได้เรียนรู้มาไม่มีการปฏิบัติ ขั้นนั้นจะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนเองและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย

          ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้

                   ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำในเรื่องนั้นๆ

         หลังจากการประยุกต์ใช้ในความรู้ อาจจะมีการนำเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรืออาจไม่มีการนำเสนอผลงานในขั้นที่ 6 แต่นำมารวมแสดงในขั้นตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้เช่นกัน

          ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (construc-tion of knowledge) ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (interaction) และฝึกฝนทักษะกระบวนการต่างๆ (process learning) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายที่มีลักษณะให้ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ และทางสังคม อย่างเหมาะสม 6 ทีคุณสมบัติตามหลักการ CIPPส่วนขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ (application) จึงทำให้เป็นรูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลักCIPPA



ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ

ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถอธิบาย ชี้แจง ตอบคำถามได้ดี นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นกลุ่ม การสื่อสาร รวมทั้งเกิดความใฝ่รู้ด้วย

CIPPA Model นอกจากจะเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นตัวชี้วัด หรือเป็นเครื่องตรวจสอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ว่า กิจกรรมนั้นเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือไม่ โดยนำเอากิจกรรมในแผนการสอนมาตรวจสอบตามหลัก CIPPAการจัดการเรียนการสอนแบบCIPPA 

การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นก็คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น มิใช่หมายความแต่เพียงว่าให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมอะไรๆ ก็ได้ที่ผู้เรียนชอบ กิจกรรมที่ครูจัดให้ผู้เรียนจะต้องเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ จึงจะสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นครูที่จะสอนผู้เรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จึงจำเป็นที่จะต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีลักษณะดังนี้

1. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านกาย (Physical Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อช่วยให้ประสาทการรับรู้ของผู้เรียนตื่นตัวพร้อมที่จะรับข้อมูลและการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น การรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ หากผู้เรียนไม่มีความพร้อมในการรับรู้ แม้จะมีการให้ความรู้ที่ดีๆ ผู้เรียนก็ไม่สามารถรับได้ ซึ่งจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่พบได้เสมอๆ คือ หากผู้เรียนต้องนั่งนานๆ ไม่ช้า ผู้เรียนอาจหลับไป หรือคิดไปเรื่องอื่นๆ ได้ การเคลื่อนไหวทางกาย มีส่วนช่วยให้ประสาทรับรู้ตื่นตัว พร้อมที่จะรับและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดี ดังนั้นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน จึงควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน

2. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา (Intellectual Participation) คือเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเคลื่อนไหวทางสติปัญญาหรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความจดจ่อในการคิด สนุกที่จะคิด ดังนั้น กิจกรรมจะมีลักษณะดังกล่าวได้ ก็จะต้องมีเรื่องให้ผู้เรียนคิด โดยเรื่องนั้นจะต้องไม่ง่ายและไม่ยากเกินไปสำหรับผู้เรียน เพราะถ้าง่ายเกินไป ผู้เรียนก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิด แต่ถ้ายากเกินไป ผู้เรียนก็จะเกิดความท้อถอยที่จะคิด ดังนั้นครูจึงต้องหาประเด็นที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดหรือลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม (Social Participation) คือ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่คณะ มนุษย์โดยทั่วไปจะต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับบริบทต่างๆ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางสังคม ซึ่งจะส่งผลถึงการเรียนรู้ทางด้านอื่นๆ ด้วย ดังนั้น กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดี จึงควรเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย

4. เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางอารมณ์ (Emotional Participation) คือ กิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเกิดความหมายต่อตนเอง กิจกรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้เรียนนั้น มักจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ประสบการณ์ และความเป็นจริงของผู้เรียน จะต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนโดยตรงหรือใกล้ตัวผู้เรียน

สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนตาม CIPPA Model สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ส่วนการมีส่วนร่วมทางด้านอารมณ์นั้น ความจริงแล้วมีเกิดขึ้นควบคู่ไปกับทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกาย สติปัญญา และสังคม ซึ่งหากครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ตามหลักดังกล่าวแล้ว การจัด การเรียนการสอนของครูก็จะมีลักษณะที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง วิธีการที่จะจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ CIPPA Model สามารถทำได้โดยครูอาจเริ่มต้นจากแผนการสอนที่มีอยู่แล้ว และนำแผนดังกล่าวมาพิจารณาตาม CIPPA Model หากกิจกรรมตามแผนการสอนขาดลักษณะใดไป ก็พยายามคิดหากิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มลักษณะดังกล่าวลงไป หากแผนเดิมมีอยู่บ้างแล้ว ก็ควรพยายามเพิ่มให้มากขึ้น เพื่อกิจกรรมจะได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อทำเช่นนี้ได้จนเริ่มชำนาญแล้ว ต่อไปครูก็จะสามารถวางแผนตาม CIPPA Model ได้ไม่ยากนัก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวอย่างแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง